วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รู้จักกับเทคโนโลยี LightScribe

ในปัจจุบันไดร์วเขียนดีวีดีรอมได้รับความนิยมอย่างสูง อีกทั้งแผ่นดีวีดีก็มีราคาถูกลงมาก ทำให้มีความต้องการในการเขียนแผ่นเป็นจำนวนมาก และสิ่งหนึ่งที่ใช้ในการแยกแยกข้อมูลในแต่ละแผ่นคือการเขียนป้าย (Label) ติดลงบนแผ่น ซึ่งใช้การเขียนด้วยลายมือโดยใช้ปากกาเขียนแผ่นซีดี ซึ่งหากเก็บไว้ใช้เองที่บ้านหรือไรท์แผ่นในหมู่เพื่อนฝูงก็คงไม่ใช่ปัญหา หากต้องการทำแจกเป็นงานเป็นการก็อาจจะต้องจ้างสกรีนแผ่น หรือใช้พรินเตอร์รุ่นที่มีความสามารถในการพิมพ์ลายลงบนแผ่นซีดีหรือดีวีดี หากเจ้า LightScribe กลายมาเป็นพระเอกในการสร้างสรรค์ลวดลายลงในแผ่นก็จะดีไม่น้อย เพราะแผ่นซีดีที่เขียนด้วยปากกาก็คงไม่น่าดูนักในการแจกจ่ายเป็นการเป็นงาน วันนี้ผมขอแนะนำพระเอกในการสร้างจินตนาการลงบนแผ่นซีดีหรือดีวีดีให้กับคุณ

รู้จักกับเทคโนโลยี LightScribe


มิติใหม่ของการเขียนลวดลายลงบนแผ่นซีดี/ดีวีดี

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง


เทคโนโลยี LightScribe นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการสร้างลาเบล (Label) ลงบนแผ่นซีดีหรือดีวีดี โดยใช้เทคโนโลยีในการยิงแสงเลเซอร์ลงบนแผ่นเพื่อสร้างลวดลายตามที่เราต้อง การ โดยไม่ได้ใช้การพิมพ์ลวดลายลงบนแผ่นอย่างพรินเตอร์หรือใช้ปากกาเขียนแผ่น เขียนด้วยลายมือเช่นในสมัยก่อน

คุณสามารถสร้างสรรค์จินตนการของคุณลงบนแผ่น ใส่ภาพนักร้องคนโปรด ชื่ออัลบั้ม ข้อความต่างๆได้จากซอฟต์แวร์สร้างลวดลาย นอกจากนี้ยังให้อิสระในการสร้างลวดลายบนแผ่นซีดีหรือดีวีดีที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนอีกด้วย

ง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

1. เขียนข้อมูล เพลง ภาพ ด้วยไดร์วที่รองรับเทคโนโลยี LightScribe
2. เมื่อเขียนแผ่นเสร็จเรียบร้อยแล้ว หยิบแผ่นออกมาจากนั้นหงายกลับด้านแผ่น
3. เขียนลวดลายที่ต้องการลงบนแผ่น โดยจำไว้ว่าใช้ไดร์วเดียวกับที่เขียนข้อมูลลงไป

การทำงานของ LightScribe
ในการทำงานของไดร์วที่รองรับเทคโนโลยี LightScribe นั่น จะใช้เลเซอร์ในการยิงเพื่อทะลุสารเคลือบผิวด้วยความเข้มที่ต่างกัน เพื่อทำลายสารเคลือบและเกิดปฏิกิริยาทำให้แผ่นเป็นลวดลายตามที่ต้องการได้ โดยจะต้องใช้กับแผ่นที่รองรับการเขียนลวดลาย LightScribe เท่านั้น ไม่สามารถใช้กับแผ่นทั่วๆไปได้

โดยจะมีรูปแบบการจัดวาง 3 รูปแบบคือ
1.Full Mode จะใช้เวลาในการยิงเลเซอร์เพื่อสร้างลวดลายเป็นเวลานาน โดยจะใช้พื้นที่เต็มแผ่น
2.Content Mode ใช้ในการสร้างสรรค์ศิลปะต่างๆในบนขอบแผ่น
3.Title Mode มีเพียงข้อความหรือกราฟิคเล็กๆ โดยในโหมดนี้จะเขียนได้รวดเร็วที่สุด

จำไว้ว่าการเขียนจะเขียนจากจุดศูนย์กลางแผ่นมายังขอบแผ่น หากมีลวดลายขนาดใหญ่ก็จะใช้เวลาในการเขียนนาน

สิ่งจำเป็นที่คุณต้องมี

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง


สำหรับฮาร์ดแวร์ แน่นอนว่าจะต้องเป็นไดร์วที่รองรับการเขียนลวดลายด้วยเทคโนโลยี LightScribe โดยสังเกตได้จากโลโก้ LightScribe บนกล่องบรรจุไดร์วซีดี/ดีวีดี

นอกจากนี้ยังต้องมีซอฟต์แวร์ในการออกแบบลวดลาย เช่นโปรแกรม SureThing 4SE ที่ให้ดาวน์โหลดฟรี หรือหาโปรแกรมดังต่อไปนี้

> Nero Cover Designer
> Roxio Easy Media Creator
> Sonic Express Labeler
> Surething CD Labeler

และแน่นอนว่าต้องมีแผ่นที่รองรับการเขียนลวดลาย คือแผ่นที่รองรับ LightScribe ด้วย ไม่ใช่ว่าจะเอาแผ่นทั่วๆไปมาเขียนได้ โดยจะเป็นแผ่นสีทองที่ฉาบสารพิเศษไว้ โดยลวดลายจะเป็นสีเทา คล้ายๆกับภาพขาวดำนั่นเอง สำหรับแผ่นแบบสีที่เขียนได้จะต้องหาเอาสักหน่อยและอาจมีราคาสูง โดยในปัจจุบันคุณสามารถหาแผ่นที่รองรับคือแผ่น CD-R, DVD+R และ DVD-R

หากต้องการเพิ่มความเข้มในการเขียนลวดลาย หาดาวน์โหลดยูทิลิตี้ได้จาก http://www.lightscribe.com/support/index.aspx?id=306

ที่นี้คุณก็ทราบถึงเทคโนโลยี LightScribe แล้ว จะได้ไม่งงเวลาไปซื้อไดร์วเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดี ว่าเทคโนโลยี LightScribe คืออะไร จากนั้นสนุกกับการออกแบบลวดลายบนแผ่นซีดีได้เก๋ไก๋ไม่ซ้ำใคร

ข้อมูลเพิ่มเติมและอ้างอิงรูปภาพจากเวปไซต์ http://www.lightscribe.com
ที่มา : http://www.pantip.com/tech/article/article.php?id=124

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีการทำ Google Sitemap ใน Google Webmaster

วิธีการทำ Google Sitemap
1. ไปที่ Google Sitemap (https://www.google.com/webmasters/sitemaps/) นะค่ะ

2. ถ้ายังไม่เคยสมัครใช้บริการ ให้คลิ๊กที่ สร้างบัญชีผู้ใช้เดียวนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้ Gmail สมัครก็ได้ ใช้อีเมล์ yahoo, hotmail สมัครก็ใช้ได้ ถ้าเป็นสมาชิกอยู่แล้วให้ล็อกอินเข้าเว็บ Google sitemap ได้ทันทีนะค่ะ

3.กรอกราย ละเอียดที่ช่องว่างนะค่ะ ไม่จำเป็นต้องใช้ Gmail สมัครก็ได้ ใช้อีเมล์ yahoo, hotmail สมัครก็ใช้ได้ ถ้าเป็นสมาชิกอยู่แล้วให้ล็อกอินเข้าเว็บ Google sitemap ได้ทันที ทำตามรูปเลยนะค่ะ

4. ระบุชื่อโดเมนเนม(ชื่อเว็บไซต์)ของท่าน และทำตามรูปภาพด้านล่างเลยนะค่ะ

5. จะปรากฏหน้ายืนยันความเป็นเจ้าของ แต่ไม่ต้องตกใจนะค่ะ เพราะสถานะตอนนี้ยังจะเป็น "ไม่ได้รับการยืนยัน" จากนั้นทำการ copy code ไว้นะค่ะเพื่อที่จะนำ code นี้ไปใส่ที่เว็บไซต์เรานะค่ะ

6. ต่อไปเป็นขั้นตอนการนำ code ที่ได้ทำการ copyไว้จากขั้นที่ 5 มาใส่ในเว็บไซต์เรานะค่ะ

6.1 ไปที่หน้าเมนูหลักนะค่ะ และคลิ๊กที่เมนูตั้งค่าระบบเว็บไซต์ ตามรูปด้านล่างเลยนะค่ะ


6.2 นำ code ที่ได้ทำการ copy ไว้มาใส่ในส่วนของช่อง Google Site Verification Key และทำตามรูปภาพด้านล่างเลยนะค่ะ

7.ให้ กลับมาหน้ายืนยันความเป็นเจ้าของ เพื่อที่เราจะทำการยืนยันความความเป็นเจ้าของนะค่ะ โดยทำการคลิ๊กที่ปุ่ม ยืนยัน ทำตามรูปเลยนะค่ะ

8. กดปุ่ม ตั้งค่าเว็บไซต์ ทำตามรูปภาพด้านล่างเลยนะค่ะ

9. ระบุข้อความ เป็น sitemap.xml ทำตามรูปภาพด้านล่างเลยนะค่ะ


10. จะเห็นสถานะ เป็นรูปนาฬิกา คือสถานะการรอ

11. จากนั้นให้คลิ๊กที่ Sitemap ของฉัน ตามรูปภาพด้านล่างนะค่ะ และสถานะจะเป็นเครื่องหมายถูก

12. คลิ๊กที่ logo ของ google นะค่ะตามรูปภาพด้านล่างเลยนะค่ะ


สุด ท้าย หลังจาก submit ไฟล์ sitemap เรียบร้อยแล้ว แสดงว่า google แค่อ่าน รายชื่อหน้าเว็บเพจของเราเท่านั้นที่เหลือ ยังมีอีก 2 ขั้นตอนที่เราจะต้อง รอ คือ
1. รอให้ google bot เข้ามาหา และเก็บข้อมูล (กินเวลา ประมาณ 2-3 วัน)
2. รอให้ google ประมวลผล ใหม่ และเอาเว็บไซต์เราเข้าไป (กินเวลาประมาณ 7-14 วัน)
3. รอให้ค้นเจอ หรือแสดงผล (กินเวลา 30 วัน - 60 วัน)

ที่มา http://www.thevistahosting.com/board/index.php?topic=49.0

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

SEO คืออะไร ทำไมนักพัฒนาเวปจึงควรรู้ ?

เอสอีโอ (อังกฤษ: SEO: search engine optimization หรือ การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหา เป็นการจัดทำ ปรับปรุง หรือปรับแต่งหน้าเว็บไซต์เพื่อให้ติดอันดับต้น ๆ ในหน้าผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน ในลักษณะธรรมชาติ (เรียกศัพท์เฉพาะว่า "ออร์แกนิก") ซึ่งผ่านทางเป้าหมายของคำค้นหาที่ต้องการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การทำการตลาดผ่านระบบค้นหา หรือ Search Engine Marketing (SEM)

เอสอีโอเป็นการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในเสิร์จเอนจิน คือ การปรับปรุงเว็บไซต์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ติดอันดับต้น ๆ ของเว็บเสิร์ชเอนจิน ด้วยคำสำคัญหรือคีย์เวิร์ด โดยเน้นให้ผลของคำค้นปรากฏอยู่ในส่วนของ Natural Search Result (Organic Search Result) หรือในส่วนของผลลัพธ์ทางด้านซ้ายมือของเว็บเสิร์ชเอนจิน เวลาที่คนเข้ามาค้นหาในเว็บเสิร์ชเอนจิน เช่นที่ กูเกิล ยาฮู หรือ บิง ด้วยคำสำคัญที่ต้องการค้นหาแล้ว จะปรากฏลิงก์ของเว็บไซต์ของเราเพื่อทำให้ติดอันดับต้น ๆ ในหน้าผลการค้นหา ซึ่งการทำเอสอีโอนั้นจะประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ปัจจัยภายใน (SEO onpage) และ ปัจจัยภายนอก (SEO offpage) ในส่วนของการปรับแต่งภายในนั้น ก็คือทุก ๆ อย่างที่เราสามารถควบคุมจัดการเองได้ภายในเว็บไซต์ของเรา เช่น การปรับแต่งหัวเรื่องของเว็บเพจ การปรับปรุง-เพิ่มคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ในหน้าเว็บไซต์ การจัดการโครงสร้างภายในของเว็บไซต์ และการใช้ meta tag เป็นต้น (แต่ในปัจจุบันเว็บเสิร์ชเอนจินเริ่มให้ความสำคัญ meta tag น้อยลงแล้ว โดยเฉพาะ meta keyword ) ในทางตรงกันข้าม ปัจจัยภายนอกคือการจัดการภายนอกเว็บไซต์ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปแล้วก็คือ การหาเว็บไซต์ที่สามารถเชื่อมโยงหรือลิงก์เข้ามาสู่เว็บไซต์ที่เราต้องการจัดทำเอสอีโอ

เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจเกี่ยวกับเอสอีโอ นั้นก็เหมือนเป็นช่องทางหนึ่งในการทำการตลาด โดยการทำความเข้าใจว่าอัลกอริทึมของเสิร์ชเอนจินนั้นทำงานอย่างไร และ คำ ๆ ไหนที่ผู้เยี่ยมชมมีความต้องการที่จะค้นหา เพื่อช่วยเลือกเว็บเพจที่ตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้ทำการค้นหา

การสร้างเว็บเพจโดยการใช้เทคนิคเอสอีโอนั้น ก็ไม่ได้หมายถึงการสร้างเนื้อหาที่เป็นที่ชื่นชอบต่อเสิร์ชเอนจินเพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่คำนึงถึงผู้เยี่ยมชม ซึ่งวิธีการทำเอสอีโอนั้น อาจจะมีการเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโค๊ดของเว็บไซต์, การนำเสนอ, โครงสร้างของเว็บไซต์ และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของการทำเอสอีโอ ก็คือเนื้อหาที่มีประโยชน์ และจะต้องเป็นเนื้อหาต้นฉบับที่ไม่ได้ทำการคัดลอกหรือลอกเลียนมาจากเว็บไซต์อื่นใด

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/เอสอีโอ