วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

PPPoE และ PPPoA คือ ?

PPP

PPP (point to point protocol) เป็น Protocal ที่ใช้ติดต่อกันในระดับ layer2 (frame)

PPPoE

          PPPoE คือ Point to Point Protocol over Ethernet  เป็นการพัฒนาต่อมาจาก PPP หรือ 56kb เดิม มาเป็น PPPoE ซึ่งให้ความเร็วอินเตอร์เน็ตมากขึ้น และ security มากขึ้นกว่าเดิม
          การที่เราต้องใช้ PPPoE นั่นก็เนื่องจากว่า core network ของ network service provider เขาใช้เป็น Ethernet technology อยู่คับ เราจึงต้องเซ็ตให้โปรโคคอล PPP วิ่งผ่านไปบน Ethernet network ได้ (อย่างพวก Gigabit Ethernet ring , Metronet )
          PPPoE จะทำการ encapsulation ห่อหุ้ม frame โดยใช้ protocal PPP ให้วิ่งบน Ethernet ที่ทำงานผ่านระบบบรอดแบนด์ เช่น ADSL สังเกตจากการตั้งค่าที่เราท์เตอร์ (ถ้าเป็นซิสโก้ จะเห็นชัด) จะใช้อินเตอร์เฟสลอจิคัลที่ย่อยออกมา เช่น Dialer ตั้ง Encapsulation เป็น PPP ซึ่งสาเหตุที่ใช้ PPP Header มาคร่อมหน้าเฟรมอีเธอร์เน็ตก่อน เพราะมันทำ Authentication ได้ (คือต้องตั้งค่า User/Pass ให้ตรงกับที่ ISP กำหนด ถึงจะเปิดการเชื่อมต่อ PPP ได้ โดยใช้โปรโตคอลย่อยเป็นแบบ PAP หรือ CHAP ก็แล้วแต่ ISP)
          PPPoE นั้น จะมี physical เป็น cable แล้วจะมีการรับ-ส่ง ขนาดของ frame ขึ้นอยู่กับการ syncronous

PPPoA

          PPPoA คือ Point to Point Protocol over ATM  จะทำการ encapsulation frame แล้ว convert ให้วิ่งไปในรูปแบบของ cell ผ่านไปบนเครือข่าย ATM network ซึ่งมีความเร็วสูงและไปได้กว่าเครือข่าย Ethernet แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเช่นกัน
         PPPoA นั้น จะมี physical เป็น optic แล้วจะมีการรับ-ส่ง ขนาดของ cell นั้นมีขนาด 53 bytes



สรุป
         PPPoE คือ การเชื่อมต่อแบบ PPP แบบที่ฝั่งผู้ให้บริการ เขาต่อ Lan แบบ Ethernet 802.3
PPPoA ก็เหมือนกับ PPPoE แต่ LAN เป็นแบบ ATM ดังนั้น การเชื่อมต่อในระดับ layer 2 จึงต่างกัน การ encapsulate ก็ต่างกัน และ option ต่างๆที่มีในตัว modem/router ADSL จึงต่างกันด้วย


          * Internet service provider: ISP หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: ) คือ บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต[1] โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโนยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น ไดอัล, ดีเอสแอล, เคเบิลโมเด็ม, ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด
          ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการ เปิดบัญชีชื่อผู้ใช้ในอีเมล์ ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยรับ-ส่ง ผ่านเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ในบางครั้งผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการเก็บไฟล์ข้อมูลระยะไกล รวมถึงเรื่องเฉพาะทางอื่น เป็นต้น


ข้อมูลจาก
1. http://bbznet.pukpik.com/scripts2/view.php?user=wut1983&board=1&id=12&c=1&order=numview
2. http://www.admin.in.th/index.php?topic=449.0
3. http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums/http/www.pantip.com/tech/internet/topic/IT1585614.html
4. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95

DNS และ DDNS

DNS



          Domain Name Server (DNS)  คือสิ่งที่นำมาอ้างถึงหมายเลขเครื่อง หรือ หมายเลข IP Address เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ DNS จะทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คน ๆ นั้นก็จะต้องเปิดสมุดโทรศัพท์เพื่อค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของคนที่ต้องการจะติดต่อคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการจะสื่อสาร กับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าว ในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้ Host ดังกล่าวทราบ ระบบ DNS แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
         1. Name Resolvers โดยเครื่อง Client ที่ต้องการสอบถามหมายเลขไอพีเรียกว่า Resolver ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็น Resolvers นั้นจะถูกสร้างมากับแอพพลิเคชันหรือเป็น Library ที่มีอยู่ใน Client
         2. Domain Name Space เป็นฐานข้อมูลของ DNS ซึ่งมีโครงสร้างเป็น Tree หรือเป็นลำดับชั้น แต่ละโหนดคือ โดเมนโดยสามารถมีโดเมนย่อย (Sub Domain) ซึ่งจะใช้จุดในการแบ่งแยก
         3.  Name Servers เป็นคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลบางส่วนของ DNS โดย Name Server จะตอบการร้องขอทันที โดยการหาข้อมูลตัวเอง หรือส่งต่อการร้องขอไปยัง Name Server อื่น ซึ่งถ้า Name Server มีข้อมูลของส่วนโดเมนแสดงว่า Server นั้นเป็นเจ้าของโดเมนเรียกว่า Authoritative แต่ถ้าไม่มีเรียกว่า Non-Authoritative



Dynamic DNS

DynDNS ย่อมาจาก Dynamic DNS  เป็นบริการที่สามารถทำให้เราเชื่อมโยง Hostname บนระบบอินเตอร์เน็ตเข้ากับ IP Address ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในโลกของระบบอินเตอร์เน็ตนั้นจะมี IP Address อย่างจำกัด ดังนั้นเมื่อทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน ISP ของคุณ เค้าก็จะให้ IP Address ชั่วคราว (Dynamic IP Address) ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเสมอ เพื่อใช้ในการอ้างอิงบนระบบอินเตอร์เน็ต DynDNS จะช่วยเชื่อมโยงระหว่าง Hostname และ Dynamic IP Address ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ภาพประกอบและข้อมูลจาก
1. http://www.dpu.ac.th/compcntre/page.php?id=2362
2. http://www.suchinko.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=suchinkocom&thispage=&No=484333&WBntype=1

OSI Model และ TCP/IP Model

OSI Model

แบบจำลองโอเอสไอ ( Open Systems Interconnection model: OSI model ) เป็นมาตรฐานการอธิบายการติดต่อสื่อสารและโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO)

โมเดลนี้ได้ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 7 ชั้นอันได้แก่ Application, Presentation, Session, Transportation, Network, Data Link และ Physical ตามลำดับจากบนลงล่าง เหตุผลที่โมเดลนี้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชั้นก็เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าแต่ละชั้นนั้นมีความสำคัญอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่างชั้น ซึ่งโดยหลักๆแล้วแต่ละชั้นจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชั้นที่อยู่ติดกันกับชั้นนั้นๆ
    1.Application Layer - ชั้นที่เจ็ดเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดและเป็นชั้นที่ทำงานส่งและรับข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ซอร์ฟแวร์โปรแกรม ต่างๆที่อาศัยอยู่บนเลเยอร์นี้ เช่น DNS, HTTP, Browser เป็นต้น

   2.Presentation Layer - ชั้นที่หกเป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อโปรแกรมต่างๆที่ใช้งานระบบเครือข่ายทำให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้เป็นประเภทใด เช่น [รูปภาพ, เอกสาร, ไฟล์วีดีโอ]

    3.Session Layer - ชั้นที่ห้านี้ทำหน้าที่ในการจัดการกับเซสชั่นของโปรแกรม ชั้นนี้เองที่ทำให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web browser) สามารถทำงานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันหลายหน้าต่าง

    4.Transport Layer - ชั้นนี้ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end) โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port) ของเครื่องต้นทางและปลายทาง

    5.Network Layer - ชั้นที่สามจะจัดการการติดต่อสื่อสารข้ามเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะเป็นการทำงานติดต่อข้ามเน็ตเวิร์คแทนชั้นอื่นๆที่อยู่ข้างบน

    6.Data Link Layer - ชั้นนี้จัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง

    7.Physical Layer - เป็นชั้นแรกของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair (STP), Unshield Twisted Pair (UTP), Fibre Optic และอื่นๆ



TCP/IP

TCP/IP คือ การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) ซึ่งในระบบInternet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้

TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol
IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protocol

TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้
และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ
TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน คือ
 1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
 2.  IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address

TCP/IP model

โครงสร้างแบบ ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP model) (Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) เป็นมาตรฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน และติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยใช้แนวคิดของการแบ่งลำดับชั้นโปรโตโคล

ลำดับชั้นของโพรโทคอลในระบบอินเทอร์เน็ต
ลำดับชั้นของโพรโทคอลในระบบอินเทอร์เน็ต มีลำดับชั้นที่น้อยกว่าโครงสร้างลำดับชั้นของโอเอสไอ โดยในโอเอสไอมีลำดับชั้นของโพรโทคอลทั้งหมด 7 ชั้น แต่ในระบบอินเทอร์เน็ตมีทั้งหมดเพียง 4 ชั้นเท่านั้น

1.  Link layer หรือ ชั้นการเชื่อมต่อ สามารถเทียบได้กับชั้นที่ 1 และ 2 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นลำดับชั้นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ตโดยตรง แต่เป็นระบบพื้นฐานของการเชื่อมต่อที่ระบบอินเทอร์เน็ตใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย
          หน้าที่ของชั้นนี้สำหรับการส่งข้อมูล เนื่องจากตัวแบบ TCP/IP ไม่ได้กำหนดมาตรฐานในข้อตอนนี้อย่างมากนัก กำหนดไว้เพียงว่าให้สามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถระบุเนื้อหาหน้าที่ที่ชัดเจนได้ ดังนั้นจึงอาจจะยกระบบของ โครงสร้างแบบ โอเอสไอทั้งสองชั้นแรกมาซึ่งได้แก่การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อให้เหมาะสมก่อนที่จะส่งไปตามสายส่งไปยังที่หมายปลายทาง ซึ่งได้แก่การจัดเตรียมPacket Header การควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในการจัดส่ง เช่น การเชื่อมต่อกับNetwork card และการใช้งาน Device Driver หน้าที่สำหรับการรับข้อมูลคือ คอยรับกรอบของข้อมูลที่ได้รับ นำข้อมูลส่วนหัวออกมา และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อส่งต่อไปยังชั้นเครือข่าย

ตัวอย่าง Link layer
          Ethernet, Wi-Fi

2.  Internet layer  หรือ ชั้นอินเทอร์เน็ต เทียบได้กับชั้นที่ 3 ซึ่งคือ Network Layer ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นชั้นที่มีหน้าที่ส่งข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปยังปลายทาง โดยหาเส้นทางที่ข้อมูลจะใช้เดินทางผ่านเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งจนกระทั่งถึงปลายทาง
          โพรโทคอลที่ใช้ในชั้นนี้คือ อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล หรือ ไอพี ทำหน้าที่เปรียบเสมือนซองจดหมายซึ่งระบุถึงที่อยู่ของต้นทางและปลายทาง โดยมีบุรุษไปรษณีย์ทำหน้าที่ส่งจดหมายนั้นผ่านกรมการไปรษณีย์ในพื้นที่ต่าง ๆ จนถึงจุดหมายปลางทาง ที่อยู่บนซองจดหมายในอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลเรียกว่า หมายเลขไอพี ที่ทำการไปรษณีย์คือเราเตอร์ที่ทำหน้าที่ค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อส่งข้อมูลไปตามสายส่งจนกระทั่งถึงปลายทาง
ตัวอย่าง  Internet layer
          IP

3.  Transport layer  หรือ ชั้นขนส่ง เทียบได้กับชั้นที่ 4 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นชั้นที่มีหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องที่ติดต่อกัน ซึ่งอาจแบ่งได้สองลักษณะคือ บริการการส่งข้อมูลแบบที่สถาปณาการเชื่อมต่อ และบริการการส่งข้อมูลแบบไม่สถาปณาการเชื่อมต่อ และจัดส่งข้อมูลไปยังapplicationที่ต้องการข้อมูล
ตัวอย่าง Transport layer   
          โพรโทคอลที่นิยมใช้ในชั้นนี้ได้แก่ TCP, UDP, RTP

4. Application layer หรือ ชั้นการประยุกต์ใช้งาน เทียบได้กับชั้นที่ 5 ถึง 7 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ จะครอบคลุมบริการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย การเข้ารหัส การเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และเป็นชั้นที่โปรแกรมประยุกต์ใช้งานโดยตรง โดยโพรโทคอลที่อยู่บนชั้นนี้จะถูกออกแบบให้เหมาะสำหรับประเภทของโปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง เช่น โปรแกรมอีเมลใช้โพรโทคอล SMTP สำหรับส่งอีเมล ใช้โพรโทคอล POP3 สำหรับรับและเรียกดูอีเมล, ส่วนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ใช้โพรโทคอล HTTP สำหรับเรียกดูเว็บเพจ เป็นต้น
ตัวอย่าง Application layer  
          HTTP, FTP, DNS เป็นต้น


ข้อมูลจาก
1.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%AD
2.http://th.wikipedia.org/wiki/Internet_protocol_suite
3. http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2042-tcp-ip-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

DHCP คืออะไร

Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP หรือ DHCPv6) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่าย-ลูกข่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจะทำการร้องขอข้อมูลที่จำเป็น ในการเข้าร่วมเครือข่ายจากแม่ข่าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้รวมถึงหมายเลข IP Address ใช้ภายในเครือข่าย ซึ่งคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเป็นฝ่ายกำหนดให้กับลูกข่าย เพื่อให้มีหมายเลขไม่ซ้ำกัน 

DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 โดยมาแทนมาตรฐานเก่า BOOTP รุ่นล่าสุดของ DHCP คือ DHCPv6 ซึ่งใช้กับโพรโทคอล IPv6 ได้รับการอนุมัติเมื่อกรกฎาคม ค.ศ.​2003

ใครทำหน้าที่แจกจ่าย IP
โดยปกติแล้ว DHCP สามารถทำผ่านคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Windows Server ได้ นอกจากนี่้ยังอุปกรณ์บางชนิดยังสามารถทำหน้าที่เป็น DHCP Server ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น Router / ADSL Modem / Wireless Access Point เป็นต้น

ประโยชน์ของ DHCP
การเชื่อมต่อระบบเครื่อข่ายเข้าด้วยกัน จำเป็นจะต่้องมีการกำหนด IP Address ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น ดังนั้น การแจกจ่าย IP Address จาก DHCP Server ทำให้สะดวกในการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์ในจำนวนมากๆ นอกจากนี้ยัง DHCP ยังสามารถแจกจ่ายค่า DNS Suffix / Default Gateway หรือ NetBIOS Node Type ได้อีกด้วย
การจ่ายหมายเลขไอพี

เซิร์ฟเวอร์ DHCP มีวิธีการจ่ายหมายเลขไอพี 3 วิธี ดังนี้
  1. กำหนดด้วยตนเอง ผู้บริหารระบบเครือข่ายเป็นผู้กำหนดหมายเลขไอพีที่ต้องการใช้สำหรับเครื่องลูกข่าย โดยใช้วิธีเทียบกับหมายเลข MAC
  2. แบบอัตโนมัติ เซิร์ฟเวอร์ DHCP จะจ่ายหมายเลขไอพีที่ว่างอยู่ให้กับลูกข่ายโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะใช้หมายเลขไอพีช่วงที่ผู้บริหารระบบกำหนดให้ใช้ได้ ไอพีที่จ่ายจะถูกใช้อย่างถาวร
  3. แบบไดนามิก วิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่สามารถนำหมายเลขไอพีมาใช้ซ้ำได้ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกเปิดเครื่องและเริ่มทำงาน เครื่องลูกข่ายจะขอหมายเลขไอพีจากเซิร์ฟเวอร์โดยอัตโนมัติ วิธีนี้ต่างกับแบบอัตโนมัติตรงที่หมายเลขไอพีในการทำงานแต่ละครั้ง ไม่จำเป็นต้องเป็นเลขเดิม

ข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/Dynamic_Host_Configuration_Protocol
http://www.it-guides.com/training-a-tutorial/network-system/1417-what-is-dhcp

การติดตั้ง router 2 ตัวในระบบเดียวกัน

เรื่องมีอยู่ว่า มี Router อยู่สองตัว ตัวหนึ่งเป็นแบบธรรมดา และอีกตัวหนึ่งเป็นแบบ wirless แต่ตัวที่ใช้งานหลักที่ต่อเน็ต ADSL เป็นเครื่องหลัก เพราะมีการต่อภาพจากกล้องวงจรปิดตลอดเวลา เพราะใช้ forward port ในการดู cctv online แต่ router แบบ wireless จะเปิดใช้งานบางช่วงเวลา เลยต้องการจะนำ router ทั้งสองตัวมาต่อวงเดียวกัน

เครื่องทดลอง
1.Billion Router
2.Zyxel Wireless Routers

จากการหาข้อมูลและลองผิดลองถูกก็ได้วิธีดังนี้
1.ตั้ง ip ของ Router ตัวรอง (wireless) ให้เป็น 192.168.2.1
2.ปิด DHCP Sever ของ Router ตัวรอง (wireless) เพื่อไม่ให้ทำการจ่าย ip ( Router ตัวหลักเป็นตัวจ่าย)
3.เอา router ตัวหลักต่อกับสายโทรศัทท์ router ตัวรองต่อกับ Router ตัวแรก แค่นี้ก็จะสามารถต่อ router สองตัวในวงเดียวกันได้แล้ว วิธีนี้เป็นวิธีที่ผมหาข้อมูลและทดลองใช้จริง ถ้าผิดในส่วนไหนก็แนะนำกันมาด้วยครับ

* Router ตัวรอง = Billion Router
* Router ตัวหลัก = Zyxel Wireless Routers